Powered Hand Truck และกฎหมายแรงงานเรื่องการยกของหนัก


Posted 9 Dec 2024 09:22 | 54,981 views

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในมาตรา 37 ได้วางหลักกฎหมายเอาไว้ว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือ เข็นของหนัก เกินอัตราน้ำหนักตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

หลายคนอาจสงสัยว่า เรื่องการยกของหนักของชายหรือหญิงที่ว่านี้

 

เกี่ยวข้องกับกฎหมายได้อย่างไร? หรือถ้าเกี่ยว ทำไมผู้ชายกับผู้หญิง จึงยกของหนักได้เท่ากัน?

กรณีนี้หมายถึง ลูกจ้างที่ทำงานโดยใช้แรงกาย ซึ่งได้แก่อาชีพคนงานทั้งหลาย เช่น คนงานก่อสร้าง

หรือคนงานตามโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่แม้ว่างานเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นแรงงานชาย

แต่ก็มีการใช้แรงงานผู้หญิงอยู่พอสมควรเหมือนกัน กฎหมายแรงงานจึงต้องเข้ามาคุ้มครองและควบคุม

เพื่อมิให้มีการใช้แรงงานเกินข้อจำกัดของคน โดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานเพศหญิง

ที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายมากกว่าเพศชาย

___________________________________________________________________________

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในมาตรา 37 ได้วางหลักกฎหมายเอาไว้ว่า

ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือ เข็นของหนัก

เกินอัตราน้ำหนักตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้

ได้กำหนดให้นายจ้างใช้ลูกจ้างทำงานเหล่านี้ได้ ไม่เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยดังนี้

ลูกจ้างเด็กหญิง อายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ไม่ถึง 18 ปี ยกของหนักได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม

ลูกจ้างเด็กชาย ยกของหนักได้ไม่เกิน 25 กิโลกรัม

ลูกจ้างเพศหญิง ที่อายุเกิน 18 ปี ยกของหนักได้ไม่เกิน 25 กิโลกรัมเช่นกันแต่หากเป็น

ลูกจ้างชาย อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป สามารถยกของหนักได้ไม่เกิน 55 กิโลกรัม

ในกรณีของหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม

ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง

___________________________________________________________________________

ดังที่กล่าวข้างต้น เรื่องราวของการยกของหนัก ซึ่งกฎหมายได้กำหนดเพื่อคุ้มครองลูกจ้าง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างเด็กและเพศหญิง ที่แน่นอนว่า แรงกายมีไม่เท่ากับเพศชาย

จะเห็นว่า ผู้ชายอาจยกของหนักไม่เกิน 55 กิโลกรัม ขณะที่ผู้หญิงไม่ควรยกของหนักเกิน 25 กิโลกรัม

เท่ากับเด็กชายที่อายุไม่เกิน 18 ปีเท่านั้น แต่ด้วยสรีระร่างกายที่ต่างกับชาย

อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเธอในระยะยาวได้ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่นายจ้างควรใส่ใจ

ในการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงใส่ใจในคุณภาพชีวิตของคนงานด้วย

และใช่ไม่เฉพาะคนงานหญิงหรือเด็ก คนงานชายที่ต้องใช้แรงงานก็เช่นกัน

คนที่ทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ ใช้แรงงาน ใช้แรงกายทำงานหนัก แม้ว่างานที่ใช้แรงงาน

ใช้แรงกายบางประเภท อาจจะเป็นงานที่ไม่ได้ใช้ทักษะมากมายนัก

แต่พวกเขาก็คือกำลังสำคัญของสังคม อีกทั้งยังเป็นงานสุจริตที่น่าภาคภูมิใจ

และที่สำคัญ พวกนายทุน นายจ้างทั้งหลาย โปรดอย่าลืมไปว่า …

พวกเขาคือแรงงานคน ไม่ใช่แรงงานเครื่องจักร จึงไม่ควรละเลยต่อพวกเขา

วันนี้ทางเราจึงมีเครื่องทุ่นแรงเพื่อช่วยในการยกของที่มีน้ำหนักได้มากถึง 140 กิโลกรัม

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม

หรืออยากทดลองใช้งาน สามารถติดต่อเราได้ตลอดเวลา

___________________________________________________________________________

 Credithttp://www.thaihrlaw.com/

 

 



Download