Laser welding เทคโนโลยีการเชื่อมด้วยเลเซอร์


Posted 21 Oct 2021 10:19 | 9,376 views

ความสามารถในการเชื่อมประสานวัสดุที่แตกต่างกัน (Multi-Material Joining) ได้โดยไม่ทำลายชิ้นงาน

"การเชื่อม" (Welding) เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับประสานต่อวัสดุรวมตัวเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นโลหะและพลาสติค  โดยใช้แรงดันร่วมกับความร้อน หรืออย่างเดียวเพื่อให้เกิดรอยเชื่อม

ในอุตสาหกรรมมีการเชื่อมในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่นการเชื่อมในพื้นที่โล่ง, พื้นที่อับอากาศ และการเชื่อมในพื้นที่อันตราย ไม่ว่าจะงานในอุตสาหกรรมใดก็มีโอกาสเกิดอันตรายได้ทั้งสิ้นหากไม่ดูแลหรือป้องกันไว้ดีๆ และงานด้านการเชื่อมก็มีอันตรายที่เกิดขึ้นได้ง่าย จึงควรมีความระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตรายไว้เสมอ

 


https://weldingcafe.com/wp-content/uploads/2019/05/Untitled-1.jpg

ประเภทต่าง ๆ ของการเชื่อม ได้แก่ 

  1. การเชื่อม MIG เป็นหนึ่งในการเชื่อมประเภทที่ง่ายสำหรับผู้ที่เริ่มต้นในการเรียนรู้งานเชื่อม และการเชื่อม MIG มักจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบงาน DIY และช่างเชื่อมงานอดิเรกที่ต้องจำกัดวงเงินในการใช้จ่ายกับอุปกรณ์ราคาแพง
  2. การเชื่อมแบบแท่ง (Stick welding) หรือที่เรียกว่าการเชื่อมอาร์ค (Arc Welding)
  3. การเชื่อมด้วย TIG เป็นกระบวนการที่ยืดหยุ่น เหมาะสำหรับการเชื่อมประกอบขึ้นรูปงาน หรือโครงสร้างที่มีความต้องการความแม่นยำสูง
  4. การเชื่อมอาร์คพลาสม่า เป็นเทคนิคที่มีความแม่นยำและเป็นที่นิยมใช้ในงานการบินและอวกาศที่ความหนาของโลหะอยู่ที่ 0.015 นิ้ว
  5. การเชื่อมแก๊ส ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้วิธีการเชื่อมนี้ ส่วนใหญ่จะนำการเชื่อมทิกเข้ามาแทนที่ 
  6. การเชื่อมด้วยเลเซอร์หรือลำเลเซอร์ (Laser beam welding, LBW) มีความแม่นยำสูงและเป็นเทคนิคการเชื่อมด้วยพลังงานสูง

Laser welding เทคโนโลยีการเชื่อมด้วยเลเซอร์ ที่มีข้อดีกว่าการเชื่อมแบบทั่วไป เช่น การเชื่อมแบบอาร์ก (Arc welding) หรือ การเชื่อมแบบทิก  (Tungsten Inert Gas welding, TIG)

 

          Laser welding เป็นการเชื่อมที่สามารถควบคุมปริมาณความร้อนไม่ให้แผ่กระจายไปทั่วชิ้นงานได้ดีกว่าการเชื่อมแบบทั่วไป มีความแม่นยำ ณ จุดที่เชื่อม (precision) และช่วยลดปัญหาของผลกระทบจากความร้อนที่มีต่อคุณภาพของชิ้นงานลงได้

          การเชื่อมชิ้นงานด้วยเลเซอร์ยังสามารถทำให้ประหยัดเวลาและลดต้นทุนได้ด้วย เมื่อเทียบกับการเชื่อมแบบเดิมจะสามารถลดบางขั้นตอนได้ ดังนั้นการลดเวลาและลดต้นทุนนี้จึงมีประโยชน์สำหรับการผลิตแบบจำนวนมาก (mass production) อีกทั้งการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมการผลิต ณ ปัจจุบัน ที่ผู้ประกอบการเน้นถึงผลลัพธ์ของความคุ้มค่าสูงสุดในการลงทุนเสมอ 

ด้วยประสิทธิภาพการเชื่อมที่รวดเร็วของเลเซอร์ จึงทำให้เทคโนโลยีนี้ได้เปรียบในด้าน

  • ความสามารถในการเชื่อมประสานวัสดุที่แตกต่างกัน (Multi-Material Joining) ได้โดยไม่ทำลายชิ้นงาน
  • ความสามารถในการควบคุมตำแหน่งของความร้อนได้ตามความต้องการ เช่น เมื่อต้องการเชื่อมวัสดุที่เป็นโลหะกับพลาสติก ก็สามารถควบคุมตำแหน่งของความร้อนให้อยู่เฉพาะบนวัสดุที่เป็นโลหะ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ชิ้นงานส่วนที่เป็นพลาสติกเกิดความเสียหาย 
  • เพิ่มความเป็นไปได้ในการเชื่อมวัสดุที่มีรูปแบบของรอยเชื่อมที่วิธีการเชื่อมแบบเดิมไม่สามารถทำได้  เช่น การเชื่อมต่อแบบจุด (spot welding) ที่การเชื่อมแบบเดิมจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเข้าไปเชื่อมทั้งสองด้านของชิ้นงาน แต่หากใช้การเชื่อมด้วยเลเซอร์แล้ว สามารถทำการเชื่อมได้เพียงด้านเดียวของชิ้นงานเท่านั้น (single side access) 
  • การใช้เลเซอร์ในการเชื่อมชิ้นงานที่เครื่องมือเชื่อมแบบเดิมเข้าถึงได้ยาก เช่น ชิ้นงานที่มีความโค้งเว้ามากเป็นพิเศษ  
  • การเชื่อมชิ้นงานที่ต้องการป้องกันรอยรั่ว โดยรอยเชื่อมที่ได้จากการเชื่อมด้วยเลเซอร์นั้นสามารถทำหน้าที่แทนการซีลด้วยซิลิโคนได้


https://www.mtec.or.th/wp-content/uploads/2019/10/Schematic-of-laser-beam-welding-process.jpg 

แหล่งที่มาข้อมูล  - weldingcafe.com, www.mtec.or.th/


Robot Products By KUKA.
 

#welding #laserwelding  #เจาะ #ตัด #เชื่อม  #เลเซอร์

มีคำถามอยากสอบถามแอดไลน์กันได้เลย

 **Interested in Project IIot and Robot? Lets contact Mostori Automation team!
Line@ : https://lin.ee/4HoPAtx