คุณ!มองอนาคตอุตสาหกรรมการผลิตเป็นเช่นไร


Posted 6 Aug 2020 14:28 | 2,589 views

อย่าปล่อยให้อุตสาหกรรม 4.0 เป็นแค่กระแส การเดินทางสู่อนาคตภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี สำหรับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่าง ๆทั่วโลก ล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมให้ตอบสนองทุกความต้องการ ตามทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

     Industry 4.0 แนวทางของอุตสาหกรรมที่จะตอบโจทย์การผลิตแห่งอนาคต ที่แตกต่างกันออกไปตามบริบท รวมถึงการเรียกขานก็มีความต่างกันออกไป เช่น

สหรัฐ คือ Smart Manufacturing
ยุโรป คือ Factories of the Future (FoF)
เยอรมัน คือ Industry 4.0
ญี่ปุ่น คือ Industrial Value Chain Initiatives (IVI)
China 2025: A New Era for Chinese Manufacturing
ไต้หวัน คือ Productivities 4.0
และสำหรับไทย คือ อุตสาหกรรม 4.0

        สำหรับประเทศไทย GDP* (Gross Domestic Product) ยังต้องพึ่งพาการลงทุนในภาคการผลิตจากต่างประเทศ ยิ่งส่งผลให้ไทยต้องเร่งพัฒนาตัวเองสู่ Industry 4.0 ซึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยที่สามารถปรับตัวพร้อมรับ Industry 4.0 ได้สูงสุด คือ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ รองลงมาได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปโลหะ สิ่งทอ การบริการ และอาหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง

 

ก้าวที่มั่นคงสู่ Smart Factory

         

     โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ผลพลอยได้จากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้เครื่องจักร อุปกรณ์ และข้อมูลทั้งหมด สามารถเชื่อมต่อถึงกันผ่านเครือข่าย IoT การส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ่านห่วงโซ่การผลิต การใช้หุ่นยนต์หลากหลายชนิด การผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย เครื่องจักรที่สามารถปรับเปลี่ยนการผลิตตามต้องการได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานะการผลิตจากการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน และนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการวิเคราะห์ สำหรับการเฝ้าติดตามจากระยะไกล ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง เพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าติดตามกระบวนการผลิต

     กรณีศึกษากรอบแนวคิดโรงงานอัจฉริยะของประเทศสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board) ที่ได้ดำเนินการตามแนวคิดของอุตสาหกรรมที่เป็นระบบ Smart Industry อยู่ภายใต้กรอบที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ บนพื้นฐาน 3 กลุ่ม ได้แก่

1. Process แบ่งออกเป็น 3 เสาหลัก ที่เป็นการเชื่อมโยงการทำงานกัน กล่าวคือ

  • เสาต้นแรกคือ Operation (การดำเนินงาน) การดำเนินการเพื่อแปลงวัตถุดิบและแรงงานเป็นสินค้าหรือบริการที่มีต้นทุนต่ำสุด และตอบสนองกับความต้องการลูกค้า องค์กรสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ จากกระบวนการผลิต (Vertical Integration) มาวิเคราะห์ (Data Analytic) เพื่อลดของเสียและความสูญเปล่าต่าง ๆ 
  • เสาต้นที่สองคือ Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) การประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการเชื่อมโยงตลอด ห่วงโซ่อุปทาน เพื่อความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ  ลดเวลาในการรอคอยสินค้า และความโปร่งใสทั้งภายในและภายนอกองค์กร  โดยเป็นการเชื่อมโยงแนวราบ  (Horizontal Integration)
  • เสาต้นที่สามคือ  Product Lifecycle (วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์) การประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การออกแบบ  การดำเนินการทางวิศวกรรม  การผลิต  การส่งมอบสู่ลูกค้า และการบริการหลังการขาย  

 2. Technology  แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

  • ส่วนแรก Automation (ระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิต) ที่เป็นกระบวนการผลิตเพื่อรองรับการผลิตในลักษณะการลดรุ่น ขนาดการผลิต การผลิตตามความต้องการ ระบบอัตโนมัติต้องมีความยืดหยุ่น โดยที่ไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มหรือเวลาที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตน้อยที่สุด
  • ส่วนที่สองคือ Connectivity (การเชื่อมต่อและเชื่อมโยงข้อมูล) การบูรณาการในการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลเพื่อการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ของทุกหน่วยงานในองค์กร
  • ส่วนที่สาม Intelligence (ความเป็นอัจฉริยะ) การประมวลผลข้อมูลเพื่อประยุกต์ใช้เป็นระบบอัจฉริยะ และปัญญาประดิษฐ์ช่วยในกระบวนการผลิต 

3. Organization แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ดังนี้

  • ส่วนแรก คือ People (บุคลากร) บุคลากรจะต้องมีความเข้าใจที่สอดคล้องกัน ตั้งแต่ระดับบริหารขั้นสูงจนถึงระดับปฏิบัติการ และเข้าใจบทบาทของตนชัดเจน พร้อมปรับตัวเพื่อทำงานร่วมกับเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ส่วนที่สอง คือ Management Structure (โครงสร้างการบริหาร) องค์กรจะต้องกระจายอำนาจการบริหาร และการตัดสินใจที่มากขึ้นเนื่องจากมีการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับต่าง ๆ 

          ทั้งนี้ การเดินทางสู่อนาคตอุตสาหกรรมการผลิตนั้น จะต้องมีการเสริมหรือเพิ่มทักษะด้านความรู้ (Hard skills) ทักษะด้านอารมณ์ และสังคม (Soft skills) อีกทั้งยังต้องเพิ่มเติมทักษะดิจิทัลให้เกิดกับบุคลากรภายในก่อนจะเป็นอันดี

 

*การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ *วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี  สามารถวัดได้ 2 วิธี ได้แก่ 

   1. การวัดรายจ่าย (Expenditure Approach) ที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = รายจ่ายเพื่อบริโภค + รายจ่ายเพื่อการลงทุน + รายจ่ายของรัฐบาล + รายจ่ายสุทธิของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าผลิตในประเทศ หรือ GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)

   
  2. การวัดรายได้
(Resource Cost - Income Approach) ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

GDP = ค่าจ้างและเงินเดือนลูกจ้าง + รายได้เจ้าของธุรกิจส่วนตัว + กำไรของบริษัท (รายได้ผู้ถือหุ้น) + ดอกเบี้ย (รายได้เจ้าหนี้) + ค่าเช่า (รายได้เจ้าของสินทรัพย์) + ภาษีธุรกิจทางอ้อม + ค่าเสื่อมราคา + รายได้สุทธิของคนต่างชาติในประเทศ

         
          เนื่องจากวิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุดในการวัดและเข้าใจ GDP ดังนั้น จะอธิบายตัวแปรในสมการที่คำนวณ GDP ด้วยการวัดรายจ่ายเท่านั้น ดังต่อไปนี้

{displaystyle GDP=C+I+G+(X-M)}

โดยที่

  • {displaystyle C} คือ Consumption (การบริโภค) หมายถึง การบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมดเช่น อาหาร ค่าเช่า ค่ายา แต่ไม่รวมการซื้อที่อยู่อาศัยหลังใหม่
     
  • {displaystyle I} คือ Investment (การลงทุน) หมายถึง การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน เช่น การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น การใช้จ่ายโดยครัวเรือนเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่รวมไว้ในการลงทุนเช่นกัน ทว่า การซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินเช่น การซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ ไม่จัดว่าเป็นการลงทุนแต่เป็นการออม (Saving) จึงไม่รวมใน GDP เพราะเป็นเพียงการสับเปลี่ยนเอกสารทางกฎหมายเท่านั้น ซึ่งเงินนั้นไม่ได้แปลงให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการ จึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่แท้จริง และจัดให้เป็นรายจ่ายประเภทเงินโอน (Transfer payment)
     
  • {displaystyle G} คือ Government Spending (รายจ่ายรัฐบาล) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ แต่ไม่รวมรายจ่ายประเภทโอนเงินอย่างเช่น สวัสดิการสังคมหรือผลประโยชน์จากการว่างงาน
     
  • {displaystyle X} คือ Export (ส่งออก)
     
  • {displaystyle M} คือ Import (นำเข้า)

 

ที่มา : NSTDA, M Report